ความเครียด คือ ภาวะของอารมณ์ความรู้สึก ที่ไม่สบายใจ วุ่นวายใจ ถูกกดดัน บีบคั้น จากปัญหาหรือสถานการณ์ต่างๆ ทำให้รู้สึกถูกคุกคามทางจิตใจ จัดการกับความรู้สึกและความกดดันเหล่านี้ไม่ได้ ความเครียดก่อให้เกิดความวิตกกังวลและนอนไม่หลับ
เมื่อเกิดความเครียดขึ้น จะเกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายบางส่วน หรือ หลายส่วนพร้อมกัน ส่งผลให้เกิดสภาะวะเสียสมดุลของร่างกายและจิตใจ ส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่างๆกับร่างกาย เช่น
• หัวใจเต้นเร็วและแรงขึ้น เพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
• หายใจถี่และเร็ว
• เหงื่อออก ทำให้ร่างกายมีอุณหภูมิสูงขึ้น
• เส้นเลือดบริเวณอวัวยวะย่อยหดตัว
• กล้ามเนื้อหดเกร็ง
เมื่อผ่านช่วงสถานการณ์ของความเครียดไป ร่างกายจะกลับเข้าสู่ภาวะปรกติ แต่หากเกิดความเครียดเป็นประจำเกิดขึ้นซ้ำๆ จะส่งผลให้ร่างกายเราไม่สามารถกลับเข้าสู่สภาวะปกติได้ จะส่งผลกับร่างกายเราในรูปแบบต่างๆได้ เช่น อาการเครียดลงกระเพาะ ลำไส้แปรปรวน แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ เป็นต้น
สารบัญ
- รู้ได้อย่างไร ว่าตัวเราอยู่ในภาวะเครียด ?
- เครียดลงกระเพาะเกิดจากอะไร ?
- อาการเครียดลงกระเพาะ
- เครียดลงกระเพาะ กินยาอะไร ?
- เครียดลงกระเพาะมีวิธีแก้อย่างไร ?
1. รู้ได้อย่างไร ว่าตัวเราอยู่ในภาวะเครียด
หมั่นสังเกตและสำรวจตัวเราเองอยู่เป็นระยะ ว่าเราอยู่ในภาวะเครียดหรือไม่ ในระยะเวลา 2 เดือนที่ผ่านมา คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ ?
• นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิด มีเรื่องกังวลใจ
• รู้สึกไม่อยากเจอใคร ไม่อยากทำอะไร เบื่อหน่าย เบื่ออาหาร
• มีอาการปวดเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอย หลัง ไหล่ ทั้งที่ไม่ได้ออกแรงทำอะไร หรือ ไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเลย
หากมีอาการเข้าเกณฑ์เหล่านี้หรือใกล้เคียง อาจเป็นสัญญาณบอกให้รู้ว่า คุณอยู่ในภาวะเครียด ควรหาวิธีจัดการกับสาเหตุความเคียด ปรับพฤติกรรม ปรับมุมมองความคิด ผ่อนคลายร่างกาย เพื่อช่วยลดความเครียดสะสมและอาจก่อให้เกิดอาการเครียดลงกระเพาะได้ในที่สุด
2. เครียดลงกระเพาะเกิดจากอะไร ?
ความเครียดส่งผลต่อกระเพาะและระบบย่อยอาหารอย่างไร ?
จุดสังเกตความเครียดที่กระทบกับสุขภาพคืออาการเครียดลงกระเพาะ
อวัยวะในระบบย่อยอาหารเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียดจะส่งผลให้เส้นเลือดบริเวณอวัยวะย่อยจะหดตัว เส้นประสาทเหล่านี้จะสั่งการให้เลือดไหลเวียนช้าลง ทำให้กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลง อาจก่อให้เกิดผลกระทบอื่น ๆ ตามมา ดังนี้
• ท้องอืด อาหารไม่ย่อย เนื่องจากกระเพาะหลั่งกรดที่จำเป็นต่อการย่อยน้อยลง กล้ามเนื้อหลอดอาหารหดเกร็ง และอาจเกิดกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มมากขึ้น
• ท้องเสียหรือท้องผูก เนื่องจากลำไส้ใหญ่ตอบสนองต่อความเครียดที่เกิดขึ้น
• แสบร้อนกลางอกและกรดไหลย้อน เนื่องจากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเกิดการบีบตัวของหลอดอาหารมากยิ่งขึ้น
• ระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี เนื่องจากมีแบคทีเรียชนิดไม่ดีเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าแบคทีเรียชนิดที่ดี
• เสี่ยงติดเชื้อในระบบทางเดินอาหารได้ง่ายยิ่งขึ้น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันทำงานน้อยลง
นอกจากเครียดลงกระเพาะแล้ว ความเครียดยังกระตุ้นให้เกิดอาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบย่อยอาหารอื่นๆ ได้อีก เช่น ลำไส้แปรปรวน แผลในกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ เป็นต้น
3. อาการเครียดลงกระเพาะ
หมั่นสังเกตลักษณะอาการผิดปรกติของร่างกายและระบบย่อยของเรา หากเริ่มรู้สึกมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นไปได้ว่าเกิดของอาการเครียดลงกระเพาะ ควรรีบพบแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิฉัยอย่างละเอียด และ รับยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้
• ปวดท้องส่วนบน ตอนท้องว่าง
• จุก แสบบริเวณลิ้นปี่ หลังรับประทานอาหาร
• เรอเหม็นเปรี้ยว อาหารไม่ย่อย
• รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน
• ท้องอืด ท้องเฟ้อ มีแก๊สในท้องมาก
• ขับถ่ายออกมาเป็นเลือดหรือมีสีดำ
• นอนไม่หลับ หลับไม่สนิทตื่นบ่อยแล้วหลับต่อยาก
4. เครียดลงกระเพาะกินยาอะไร ?
เมื่อเกิดอาการผิดปรกติที่สงสัยว่าจะมีอาการเครียดลงกระเพาะ แนะนำให้พบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีภาวะของระบบย่อยอาหารอื่นๆร่วมด้วย เช่นลำไส้แปรปรวน หรือ ติดเชื้อต่างๆ การรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะและลำไส้ ต้องอาศัยความมีวินัยในการทานยา เพราะอาการของโรคเหล่านี้จำเป็นต้องใช้เวลาทานยาต่อเนื่องรักษาตามอาการ และ ฟื้นฟูระบบการทำงานของกระเพและลำไส้ควบคู่กันไปกับการทานยารักษาอาการ
ยาที่มักใช้รักษาอาการเครียดลงกระเพาะ หรือ โรคกระเพาะ เช่น
- ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร
ตัวอย่าง ชื่อยา Miracid® (มิราซิด) เป็นชื่อทางการค้าของยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ที่มีตัวยาสำคัญ คือ โอเมพราโซล (Omeprazole)
- ยาลดการบีบเกร็งในช่องท้อง
ตัวอย่าง ชื่อยา Buscopan (บัสโคเพน) ประกอบด้วยตัวยาหลักคือ ไฮออสซีน บิวทิลโบรไมด์ (Hyoscine butylbromide) ใช้เพื่อลดอาการปวดเกร็ง หรือลดการเคลื่อนไหวผิดปกติของกระเพาะอาหารและลำไส้
- ยาเคลือบกระเพาะ
ตัวอย่าง ชื่อยา กาวิสคอน, มาล๊อกซ์ อะลั่มมิ้ลค์, แอนตาซิน เยล, อาโมจิน เยล
- ยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาแผลในกระเพาะ ในกรณีติดเชื้อนในกระเพาะอาหารร่วมด้วย ควรได้รับการวินิฉัยจากแพทย์เท่านั้น
และที่สำคัญพยายามทานอาหารให้ตรงเวลาอย่างเคร่งครัด โดยเน้นที่อาหารย่อยง่าย และต้องไม่ลืมทานผักผลไม่เพิ่มเติมด้วย เพราะในขณะที่เราทานยาตามอาการเหล่านนี้ อาจส่งผลต่อการขับถ่าย โดยเฉพาะยาลดการบีบเกร็งในช่องท้อง
5. เครียดลงกระเพาะมีวิธีแก้อย่างไร ?
เมื่อเกิดความเครียดและส่งผลต่อระบบย่อยทั้งกระเพาะ และ ลำไส้
นอกจากทานบยาตามอาการแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือการผ่อนและคลายความเครียด รวมถึงตั้งสติเพื่อพิจารณาจัดการความเครียดที่ต้นเหตุ
เมื่อเกิดความเครียดจนกระทบกับการทำงานของระบบย่อยอาหาร นอกจากการทานยาตามอาการเพื่อบรรเทาอาการในระยะสั้นแล้ว วิธีแก้อาการเครียดลงกระเพาะที่ต้นเหตุเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุดในระยะยาว
1.ออกกำลังกายแบบคาดิโอต่อเนื่อง 30-45 นาที ประมาณ 5 วัน/ สัปดาห์ หรือบ่อยที่สุดเท่าที่ทำได้ โดยใช้วิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับร่างกาย การออกกำลังกายจะช่วยกระตุ้นการหลั่งสารเอนโดรฟิน เป็นสารเคมีในสมองที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดและทำให้อารมณ์ดีขึ้น และช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี หากเป็นการออกกำลังกายช่วงเย็น ห่างจากเวลานอนประมาณ 3-4 ชั่วโมง จะช่วยให้หลับสบายขึ้น ลดโอกาสความเครียดสะสม และช่วยบรรเทาอาการเครียดลงกระเพาะได้ดี
2. เลี่ยงอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพและระบบย่อย เช่น อาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันสูง อาหารรสจัด น้ำอัดลม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณสูง ควรทานโยเกิร์ตให้บ่อยขึ้น เนื่องจากมี Probiotics ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในกระเพาะ ลำไส้และร่างกาย และทำให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน
คำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับผู้ที่มีปัญหาเครียดลงกระเพาะ และ ลำไส้แปรปรวน นอกจากทานยาตามอาการแล้ว สามารถทานอาหารเหล่านี้เพิ่มเติมได้ค่ะ
ในช่วง 2 สัปดาห์แรก
• ทานโยเกิร์ต 1 ถ้วย / วัน
• ไข่ขาว 2 ฟอง / วัน (หากไม่สะดวกสามารถทานไข่ขาวอัดเม็ดทดแทนได้)
หลังจาก 2 สัปดาห์แล้ว สามารถทานทั้ง 2 อย่างอาทิตย์ละ 3-4 วัน หรือตามที่สะดวกได้ค่ะ ทั้งจุลินทรีย์ตัวดีในโยเกร์ต และ โปรตีนจากไข่ขาว ที่ได้จากการทานอาหารเป็นปริมาณที่เพียงพอแล้วสำหรับกลไกการทำงานของระบบย่อยตามธรรมชาติ ทานให้พอดีนะคะ ไม่ควรเยอะไปหรือน้อยไป
3. ทำกิจกรรมเบาๆ ที่เราชอบ เพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียด เช่น ฟังเพลง วาดรูป ไปเที่ยว ทำบุญ ทำอาหาร เล่นกีฬา ทำกิจกรรมกับครอบครัว หรืออื่นๆ ที่จะสามารถพักเบรคความคิดหนักๆจากเรื่องงาน หรือ ปัญหาต่างๆ รวมถึงจัดตารางงานอย่างเหมาะสม จัดสรรเวลาสำหรับการทานข้าว ดื่มน้ำ ลุกเดินเปลี่ยนท่าทาง และการพักสายตาเป็นระยะ ไม่ว่างานที่ต้องรับผิดชอบจะเร่งรีบแค่ไหนก็ตาม อย่างน้อยควรจัดสรรช่วงเวลาเล็กๆน้อยเพื่อผ่อนร่างกาย สายตา และกล้ามเนื้อ หากมีงานต้องรับผิดชอบมากจนเกิดความตึงเครียด ควรขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าบ้าง พูดคุยด้วยเหตุผล ขอความช่วยเหลืออย่างสมเหตสมผล ช่วยลดภาวะเครียดสะสมซึ่งเป็นสาเหตุของอาการเครียดลงกระเพาะได้
ไม่ควรรับมือกับความเครียดด้วยวิธีที่ผิด เช่น สูบบุหรี่ หรือ ดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากจะไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาแล้ว ยังส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหารเพิ่มมากขึ้น
4. เมื่อเกิดความเครียด ความวิตกกังวล กับปัญหาต่างๆ และรู้สึกว่าไม่สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตัวคนเดียว ควรหาทางพูดคุย ปรึกษา กับใครสักคนที่เรารู้สึกสบายใจที่จะคุย อาจเป็น เพื่อน ครอบครัว หรือคนรอบข้าง ที่พร้อมจะรับฟังปัญหาของเรา แต่สิ่งนึงที่ต้องทำความเข้าใจก่อนคือ ในช่วงที่สภาพจิตใจของเรานั้นอ่อนไหว การรับฟังความคิดเห็นจากคนรอบข้างจะค่อนข้างมีอิทธิพลกับจิตใจเรา ควรเลือกปรึกษาคนที่มีมุมมองความคิดในแง่บวก คนที่รับฟังอย่างเป็นกลาง หากคุณมีคนเหล่านั้นอยู่ใกล้ตัวนับว่าเป็นความโชคดี แต่หากคุณรู้สึกว่าไม่สามารถมองหาคนเหล่านี้ได้จากรอบตัว
การเข้ารับคำแนะนำจาก นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ควรทดลอง เพื่อช่วยให้เรารับมือกับความเครียด ความกลัว ความผิดหวัง หรืออุบัติเหตุทางจิตใจที่เกิดขึ้นในชีวิต อาจเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับเรามาก่อน เป็นสิ่งที่จิตใจเรายังไม่มีภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นวิธีจัดการกับความเครียดไม่ให้กระทบกับร่างกายรวมถึงจัดการกับภาวะเครียดลงกระเพาะได้ดีในระยะยาว
การเข้ารับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทั้ง นักจิตวิทยา หรือ จิตแพทย์ จะช่วยให้เรามีมุมมองต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบที่ต่างออกไป ช่วยปรับใจ ปรับความคิด ปรับกระบวนการความคิด ให้เราสามารถผ่านพ้นช่วงเวลาที่ยากลำบากไปได้
ปรึกษาใกล้ชิด
ปัญหานอนไม่หลับที่มาพร้อมกับอาการเครียดลงกระเพาะ
หรือปรึกษาวิธีหยุดทานยานอนหลับได้อย่างปลอดภัย
สรุป
ความเครียดส่งผลกับกล้ามเนื้อและระบบต่างๆในร่างกาย อวัยวะในระบบย่อยอาหารเป็นส่วนที่มีเส้นประสาทจำนวนมาก เมื่อเกิดความเครียดจะทำให้กล้ามเนื้อในระบบย่อยอาหารทำงานแย่ลง ซึ่งเป็นที่มาของอาการเครียดลงกระเพาะ วิธีแก้อาการเครียดลงกระเพาะในระยะสั้น คือ กินยาตามอาการและปรับพฤติกรรมการกินต่างๆ เช่น กินให้ตรงเวลา ไม่ทานอาหารรสจัด น้ำตาลและไขมันสูง น้ำอัดลมและแอลกอฮอลล์ รวมถึงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีกสูง แต่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุซึ่งเป็นวิธีที่จะรักษาอาการเครียดลงกระเพาะได้ดีในระยะยาวและหายขาด คือ การจัดการกับความเครียดที่เป็นต้นเหตุ เช่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรมผ่อนคลาย ปรับรูปแบบการทำงาน รวมไปถึงพูดคุยขอคำแนะนำจากคนรอบตัวที่มีมุมมองในด้านบวก หรือจะเป็นการเข้าพบนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่แนะนำอย่างมาก