บูสต์สมองไบรท์ “มีไวซเซ่”
สารสกัดสมุนไพรพรมมิ ที่สุดของสมุนไพรบำรุงสมอง พร้อมทั้งสารสกัดตัวอื่นๆที่เสริมการทำงานร่วมกันได้อย่างครบองค์ประกอบของการบำรุงสมองแบบพุ่งเป้า ช่วยลดอาการสมองล้าจากการเรียนหรือการทำงาน ลดความเสียหายจากความเครียดที่ส่งผลต่อการทำงานของสมองโดยตรง ลดความรุนแรงของภาวะซึมเศร้า และส่งเสริมประสิทธิภาพการนอนได้อย่างดี
สรรพคุณของสารสกัดพรมมิ ตามงานวิจัย
จากข้อมูลทางเภสัชวิทยา พบว่า พรมมิ มีสารออกฤทธิ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของความจำ การตัดสินใจ ช่วยปกป้องเซลล์สมอง มีฤทธิ์ต้านความจำเสื่อม ช่วยใน เรื่องการนอนหลับ และลดความวิตกกังวลได้
พรมมิมีสารสำคัญในกลุ่มอัลคาลอยด์อย่าง ซาโปนิน (Saponins) ไตรเทอร์ปีน (Trierpenes) สารบาโคไซด์ เอ (BacosideS A) สารบาโคไซด์ บี (BacosideS B) บาโคซัปโปไนน์ดี (Bacosaponines D) ที่ช่วยเพิ่มปริมาณเซลล์ประสาทคอลิเนอร์จิก (Cholinergic Neuron) ซึ่งทำหน้าที่ในการกระตุ้นสารสื่อประสาทแอซิติลโคลีน (Acetylcholine) ช่วยให้การทำงานของสารประสาทมีความต่อเนื่อง ช่วยให้การคิด การประมวลผล ความจำดีขึ้น
พรมมิช่วยลดการทำงานของเอนไซม์แอซิติลโคลีนเอสเตอเรส (Acetylcholinesterase) ซึ่งเป็นอนุมูลอิสระที่จะเข้าไปทำลายเซลล์ประสาทและสมอง รวมทั้งสารบาโคไซด์ (Bacosides) ยังช่วยป้องกันการเกิด Lipid Peroxidation ในสมอง ลดการเสื่อมสภาพของเซลล์ประสาท และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้
พรมมิช่วยขยายขนาดของการหลอดเลือดในสมอง ทำให้การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงสมองได้ดี ส่งผลให้เซลล์สมองแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ของสมองดีขึ้น
พรมมิมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งไซโตไคน์ (Cytokines) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโปรตีนที่หลั่งออกมาจากเซลล์ ก่อให้เกิดการอักเสบหากมีการหลั่งไซโตไคน์ออกมามากเกินไปจะเรียกว่าพายุไซโตไคน์ (Cytokine Storm) ส่งผลต่อเซลล์ทำให้ระบบอวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลวได้
ผลการศึกษาการเรียนรู้และการจดจำในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี โดยการให้สารสกัดพรมมิขนาด 300 มิลลิกรัม วันละครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์
พบว่า พรมมิมีผลทำให้สมองประมวลผลได้เร็วขึ้น (information processing) การเรียนรู้ทางภาษาและการจดจำดีขึ้นตามลำดับ
⛔ควรกินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมเป็นประจำ
งานวิจัยสมุนไพรพรมมิ
ช่วงปี พ.ศ. 2548 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทำการศึกษาวิจัยสมุนไพรพรมมิ การศึกษาทางเภสัชวิทยาพบว่า
การศึกษาทางคลินิก:
ฤทธิ์เพิ่มความจำ
การทดสอบฤทธิ์เพิ่มความจำด้วยวิธี double-blind placebo-controlled ในอาสาสมัครสุขภาพดี โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1.กลุ่มที่รับประทานสารสกัดพรมมิ จำนวน 33 คน เป็น ชาย 9 คน หญิง 24 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 41.6 ปี
2.กลุ่มที่รับประทานยาหลอกจำนวน 29 คน เป็น ชาย 12 คน หญิง 17 คน มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 44.3 ปี
สารสกัดพรมมิที่ใช้ในการทดสอบ แต่ละแคปซูลมีสารสกัดพรมมิขนาด 150 mg ทดสอบด้วยวิธีให้อาสาสมัครได้รับสารสกัดพรมมิ วันละ 2 แคปซูล เป็นระยะเวลา 90 วัน จากนั้นจึงวัดผลหลังรับประทานยาแล้ว ด้วยเครื่องมือ Cognitive Drug Research (CDR) computerized assessment system
โดยอาสาสมัครจะได้รับการทดสอบความจำด้านต่างๆ ก่อนได้รับสารสกัด และทดสอบอีกครั้งหลังรับประทานสารสกัด
ผลการทดสอบพบว่าความจำแบบ working memory (หรือความจำขณะทำงาน หมายถึงความจำซึ่งใช้ในการดึงข้อมูลมาใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ ในขณะที่กำลังทำงาน เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูลชั่วขณะ การจัดการกับข้อมูล และนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้) ของกลุ่มที่ได้รับสารสกัดพรมมิมีประสิทธิภาพที่ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
เอกสารอ้างอิง:
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. พรมมิ, [ออนไลน์]. 2024, แหล่งที่มา: https://phar.ubu.ac.th/herb-DetailPhargarden/303, [6 ธ.ค. 2567].
การศึกษาผลของการรับประทานสารสกัดพรมมิต่อการฟื้นฟูความจำ ในอาสาสมัครที่มีภาวะสูญเสียความจำเนื่องจากอายุมาก (อายุ 55 ปี ขึ้นไป) โดยให้อาสาสมัครรับประทานสารสกัดมาตรฐานพรมมิ ขนาด 125 มิลลิกรัม วันละสองครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์
พบว่าอาสาสมัครสามารถควบคุมความคิด และจิตใจได้ดีขึ้น ความจำตรรกะ (logical memory) และการเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ (paired associated learning) ดีขึ้น ในระหว่างที่รับประทานยา แสดงว่าพรมมิสามารถช่วยฟื้นฟูการสูญเสียความจำที่มีสาเหตุมาจากอายุที่มากขึ้นได้
เอกสารอ้างอิง:
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. พรมมิ, [ออนไลน์]. 2024, แหล่งที่มา: https://phar.ubu.ac.th/herb-DetailPhargarden/303, [6 ธ.ค. 2567].
รายงานการศึกษาผลในการช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของพรมมิในเด็ก ในประเทศอินเดีย โดยทำการทดสอบเด็ก 40 คน ที่มีอายุระหว่าง 6-8 ปี ให้รับประทานพรมมิในรูปแบบไซรัป วันละ 3 ครั้ง (1 ช้อนชา ประกอบด้วยผงพรมมิ 350 มิลลิกรัม) แบ่งให้รับประทานวันละ 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 เดือน
พบว่าเด็กมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่รับประทานยาหลอก และการศึกษาในเด็กสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) จำนวน19 คน อายุเฉลี่ย 8.3 ปี โดยให้รับประทานสารสกัดพรมมิมาตรฐาน (ประกอบด้วย bacoside 20%) ขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าเด็กมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีขึ้น โดยมีความจำตรรกะ การเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ และผลการทดสอบด้านการพูด และภาษา (sentence repetition test) ดีขึ้น (พิชานันท์, 2555)
เอกสารอ้างอิง:
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. พรมมิ, [ออนไลน์]. 2024, แหล่งที่มา: https://phar.ubu.ac.th/herb-DetailPhargarden/303, [6 ธ.ค. 2567].
การศึกษาในเด็กสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) จำนวน19 คน อายุเฉลี่ย 8.3 ปี โดยให้รับประทานสารสกัดพรมมิมาตรฐานขนาด 50 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าเด็กมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ดีขึ้น โดยมีความจำตรรกะ การเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ และผลการทดสอบด้านการพูด และภาษา (sentence repetition test) ดีขึ้น (พิชานันท์, 2555)
เอกสารอ้างอิง:
ฐานข้อมูลสมุนไพรไทยเขตอีสานใต้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. พรมมิ, [ออนไลน์]. 2024, แหล่งที่มา: https://phar.ubu.ac.th/herb-DetailPhargarden/303, [6 ธ.ค. 2567]. คัดลอก
สมองดีฟังชั่นชีวิตดี มีไวซ์เซ่
เหมาะกับฟังชั่นชีวิตแบบไหนบ้าง ?